Blogs Detail

ชี้ช่องรวย! หนึ่งช่องทางธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย คือการส่งอาหารแห้ง อาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกา

ชี้ช่องรวย! หนึ่งช่องทางธุรกิจสำหรับ SMEs ไทย คือการส่งอาหารแห้ง อาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกา
อัพเดทล่าสุด : 15/08/2022 - 14:53:01

สหรัฐอเมริกาเป็นหนึ่งในประเทศที่คนไทยไปอาศัย ทำงานหรือศึกษาต่อมากที่สุด ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกาจำนวนมาก ยิ่งในช่วงที่โควิด-19 แพร่ระบาดทำให้การซื้อของที่ห้างฯ หรือซุเปอร์มาร์เก็ตไม่สะดวกอีกต่อไป ประกอบกับคนอเมริกันนิยมช้อปปิ้งทางออนไลน์เป็นปกติอยู่แล้ว ทำให้มีมูลค่าการซื้อขายออนไลน์กว่า 709.78 พันล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิม 18% การซื้อขายสินค้าจำพวกอาหาร เครื่องดื่ม รวมถึงสินค้าที่เกี่ยวกับการดูแลตัวเอง เป็นสินค้าที่อยู่ในกลุ่มที่เติบโตเร็ว และมียอดซื้อพุ่งก่อนจะเกิดการแพร่ระบาดของโควิดด้วย ทั้งหมดนี้ ทำให้ภาพรวมการส่งของไปอเมริกาโดยเฉพาะอาหารแห้งและอาหารแปรรูปนั้นคึกคักมาก

DHL Express จึงทำการรวบรวม Check List การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา มองหาช่องทางสร้างรายได้เป็นอาชีพเสริม หรือจะส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปให้เพื่อนๆ ครอบครัวในอเมริกาได้เหมือนกัน 

 

เคล็ดลับการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปสหรัฐอเมริกาให้ราบรื่น

ข้อแรกที่ต้องรู้คือ อาหารสด ไม่สามารถนำส่งไปต่างประเทศผ่านเครือข่ายการขนส่งด่วนทางอากาศของ DHL Express ได้ เพราะถือเป็น Perishable goods ซึ่งอาจเน่าเสียในระหว่างขนส่ง ส่วนอาหารแห้งและอาหารแปรรูปสามารถส่งไปอเมริกาได้ และต้องไม่ใช่อาหารจำพวกเนื้อสัตว์ ไม่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น ยกเว้น ปลาและสัตว์ทะเล

การนำเข้าอาหารประเภทปลาหรือผลิตภัณฑ์ปลาของสหรัฐอเมริกา

อาหารประเภทปลา หรือผลิตภัณฑ์ที่แปรรูปจากเนื้อปลา สามารถส่งไปยังอเมริกาได้ ยกเว้น ปลา Siluriformes คือ อันดับปลาหนัง หรือตระกูลปลาหนัง เป็นปลากระดูกแข็ง ปลาประเภทนี้มีจำนวนปลามากถึง 35 วงศ์ และ 2,867 ชนิด ตัวอย่างวงศ์ที่สำคัญและพบในประเทศไทยและไม่สามารถส่งไปอเมริกาได้ ได้แก่

• วงศ์ปลาขยุย (Akysidae) เช่น ปลาขยุย
• วงศ์ปลาดัก (Amblycipitidae) เช่น ปลาดัก
• วงศ์ปลากดทะเล (Ariidae) เช่น ปลาริวกิว, ปลาอุก
• วงศ์ปลากด (Bagridae) เช่น ปลาแขยง ปลากด ปลามังกง
• วงศ์ปลากะแมะ (Chacidae) เช่น ปลากะแมะ
• วงศ์ปลาดุก (Clariidae) เช่น ปลาดุกด้าน ปลาดุกอุย
• วงศ์ปลาแค้ขี้หมู (Erethistidae) เช่น ปลาแค้ขี้หมู
• วงศ์ปลาจืด (Heteropneustidae) เช่น ปลาจืด
• วงศ์ปลาแค้ (Sisoridae) เช่น ปลาค้างคาว, ปลายะคุย
• วงศ์ปลาดุกทะเล (Plotosidae) เช่น ปลาดุกทะเล ปลาปิ่นแก้ว
• วงศ์ปลาสวาย (Pangasiidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลาเผาะ ปลาโมง ปลาบึก ปลาเทโพ ปลาเทพา
• วงศ์ปลาหวีเกศ (Schilbeidae) เช่น ปลาสังกะวาด ปลายอนทอง ปลายอนโล่
• วงศ์ปลาเนื้ออ่อน (Siluridae) เช่น ปลาก้างพระร่วง ปลาเบี้ยว ปลาสายยู ปลาปีกไก่ ปลาชะโอน ปลาค้าว

 

การส่งอาหารแห้ง หรืออาหารแปรรูป ไปอเมริกา แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1. Non-Homemade Product และ 2. Homemade Product  

1. การส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade Product ไปอเมริกา 

สำหรับ "Non-Homemade Product" หมายถึง อาหารแปรรูป หรืออาหารแห้ง ที่ผลิตจากโรงงาน และจัดจำหน่ายตามห้างสรรพสินค้า หรือซูเปอร์มาร์เก็ตทั่วไป เช่น อาหารกระป๋อง บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป มันฝรั่งทอด ฯลฯ เป็นอาหารที่ได้รับความนิยมในการบริโภคและเหมาะกับการส่งออกเพราะ โดยทั่วไปจะมีบรรจุภัณฑ์มิดชิด ผ่านการรับรองด้านอาหารจากหน่วยงานในท้องถิ่น เก็บได้นาน ข้อควรรู้ในการการขนส่งอาหารประเภท Non-Homemade มีดังนี้ 

 

1.1 ประเภทของอาหาร และจุดประสงค์ในการส่ง 

  • ห้ามส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปที่มีส่วนผสมของเนื้อสัตว์ทุกชนิด เช่น ไส้กรอก แฮม หรือ หมูแผ่น เป็นต้น
  • ห้ามส่งอาหารสด ผักผลไม้ที่ยังไม่ได้ถูกแปรรูปให้เป็นอาหารแห้งหรืออาหารสำเร็จรูปอื่นๆ 
  • ห้ามส่งอาหารหรือสินค้าที่จำเป็นต้องคงสภาพอุณหภูมิหรือเก็บความเย็นเพราะการขนส่งจะไม่สามารถรักษาอุณหภูมิของสินค้าได้
  • ถ้าจะส่งสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ประเภทนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงหรือนมสดไปอเมริกา จะต้องมีใบอนุญาตนำเข้า สหรัฐอเมริกาที่เรียกว่า USDA Import Veterinary Permit
  • ปลา อาหารทะเลแปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่แปรรูปมาจากสัตว์น้ำ เช่น ปลากระป๋อง ปลาตากแห้ง กุ้งแห้ง ขนมปลาเส้น สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้*

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ ไม่เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) สามารถส่งออกได้ปกติ

- ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ มีใบอนุญาตส่งออกจากกรมประมง และเดินพิธีการส่งออกเต็มรูปแบบ

 

1.2. ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) 

การส่งอาหารไปยังต่างประเทศนั้น แม้จะเป็นอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปก็ต้องได้รับการบรรจุหีบห่อที่แน่นหนาโดยการซีลหรือปิดสุญญากาศ  (Vacuum Packaging) เพื่อป้องกันการรั่วไหลหรือซึมเลอะของอาหารในระหว่างการขนส่ง 

1.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ 

• ชื่อสินค้า (Product name) 
• ชื่อ และ ที่อยู่ผู้ผลิต (Manufacturer name & address) 
• ส่วนผสม (Ingredients) 
• น้ำหนัก (Net Weight)
• วันหมดอายุ (Expiry Date) 
• ประเทศที่ผลิต (Country of Origin) 

Tips: เพื่อความรวดเร็วและแม่นยำในการส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูปไปอเมริกา แนะนำให้สแกนฉลากอาหาร และปรินท์แนบไปกับ invoice เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบของศุลกากรขาเข้าของฝั่งอเมริกา  

1.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade 

• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก 
• ไม่ต้องดำเนินพิธีการขาออก 
• ปริมาณในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Non-Homemade 

o การส่งไปให้บุคคล (ไม่ใช่เพื่อขายให้กับบริษัท) ให้จัดส่งใน "ปริมาณที่เหมาะสม" หรือปริมาณเหมาะสำหรับการบริโภคต่อคน (ตามดุลพินิจของศุลกากร) 
o การส่งออกโดยระบุว่าส่งไปเพื่อการค้าขาย สามารถส่งได้ไม่จำกัดจำนวน 

• การระบุมูลค่าสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ จะต้องระบุมูลค่าตามจริง โดยหากมีมูลค่าเกิน $800 จะต้องทำ Prior Notice ก่อนส่งสินค้า 

 

2. การขนส่งอาหารแห้งและอาหารแปรรูป แบบ Homemade product ไปสหรัฐอเมริกา

Homemade product คืออาหารที่ผลิตหรือทำเองจากที่บ้าน หรือในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ OTOP หรือขนมที่ทำเองจากที่บ้าน เช่น คุกกี้ ขนมปังกรอบ เป็นต้น 

2.1. ประเภทของอาหารและจุดประสงค์ในการส่งอาหาร

• การส่งออกอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา จะต้องเป็นการส่งออกเพื่อบุคคลถึงบุคคลเท่านั้น ห้ามเป็นการส่งออกเพื่อนำไปทำการค้าโดยเด็ดขาด
• ปริมาณที่ส่งออกต้องถูกจำกัดปริมาณ เพื่อความเป็นไปได้และเหมาะสมในการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น
• ปลา อาหารทะเลแปรรูป หรือผลิตภัณฑ์ใดๆก็ตามที่แปรรูปมาจากสัตว์น้ำ เช่น ปลากระป๋อง ปลาตากแห้ง กุ้งแห้ง ขนมปลาเส้น สามารถส่งไปสหรัฐอเมริกาได้ แต่ต้องผ่านกรรมวิธีการถนอมอาหารและการแปรรูปที่ถูกต้อง โดยจะต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสม และเป็นไปได้ต่อการบริโภคส่วนบุคคลเท่านั้น ปลาและผลิตภัณฑ์จากปลาสามารถขนส่งออกจากไทยได้โดยมีเงื่อนไขดังนี้*

-        ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ ไม่เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) สามารถส่งออกได้ปกติ

-        ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนประกอบของปลาหรือสัตว์น้ำ เกิน 20% (ดูที่ฉลากส่วนประกอบของตัวผลิตภัณฑ์) ต้องจดทะเบียนเป็นผู้ส่งออกสัตว์น้ำ มีใบอนุญาตส่งออกจากกรมประมง และเดินพิธีการส่งออกเต็มรูปแบบ

• การส่งนมวัวหรือนมแพะที่เป็นนมผงต้องมีใบอนุญาตเหมือน Non-Homemade เช่นกัน 

2.2 ห่อหรือบรรจุภัณฑ์ (Packaging) 

การห่อหรือบรรจุภัณฑ์ จะต้องได้รับการหีบห่อที่แน่นหนา โดยการซีล หรือปิดสุญญากาศ (Vacuum Packaging)  เสมือนกับการส่งผลิตภัณฑ์ Non-Homemade  

2.3. ฉลากอาหาร (Label): ต้องมีฉลากที่มีข้อมูลสำคัญเป็นภาษาอังกฤษ ดังนี้ 

• ป้ายชื่อสินค้า (Product name) 
• ระบุว่าเป็น Homemade บน Invoice  

2.4. รายละเอียดและข้อจำกัดในการส่งออกอาหารแปรรูปแบบ Homemade 

• ไม่ต้องใช้ใบอนุญาตส่งออก 
• ไม่ต้องเดินพิธีการขาออก 
• ต้องอยู่ในปริมาณที่เหมาะสมสำหรับการบริโภคส่วนบุคคล ซึ่งขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของศุลกากร 
• ไม่จำกัดมูลค่าในการส่ง แต่หากเกิน $800 ต้องทำ Prior Notice ก่อนการส่งสินค้า

 

เพื่อป้องกันความล่าช้าในการส่งอาหารแห้งหรืออาหารแปรรูปไปอเมริกา ผู้ส่งต้องเตรียมเอกสารหรือข้อมูลในการจัดส่งที่ต้องใช้ เพราะอเมริกามีการควบคุมการนำเข้าพัสดุประเภทอาหารอย่างเข้มงวด อย่าลืมเลือกผู้ให้บริการขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่เป็นมืออาชีพและมีประสบการณ์อย่าง DHL Express ที่ให้บริการส่งของไปต่างประเทศ ไม่ใช่เฉพาะสหรัฐอเมริกา แต่ครอบคลุม 220 ประเทศทั่วโลก ติดต่อเจ้าหน้าที่ฝ่ายขายที่ดูแลท่านหรือสอบถาม รับคำแนะนำในการจัดส่งเอกสารและพัสดุไปทั่วโลกผ่าน Live Chat หรือโทร 02-345-5000 

 

*อัปเดทข้อมูลล่าสุด 3 สิงหาคม 2565*



Blogs & E-Books

Boost your customer experience with On Demand Delivery
HOT NEWS
Boost your customer experience with On Demand Delivery
Read more
อัพเดทล่าสุด : 19/07/2023 - 10:18:27
7 facts behind the scenes of No Time To Die and DHL logistics partnership
7 facts behind the scenes of No Time To Die and DHL logistics partnership
Make fashion fit for global business. What’s next in fashion industry?
Make fashion fit for global business. What’s next in fashion industry?
Tags Box