การขยายตัวอย่างแข็งแกร่งของธุรกิจอีคอมเมิร์ซในช่วงโควิด-19 เป็นสิ่งที่ใครๆ ก็เข้าใจได้ นั่นเพราะทั่วโลกมีความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์เพิ่มขึ้นมาก ซึ่งส่งผลต่อการขนส่งระหว่างประเทศ โดยเฉพาะการขนส่งอุปกรณ์ป้องกันส่วนบุคคลจากเอเชียไปยังภูมิภาคอื่นๆ พร้อมๆ กันนั้น การช้อปปิ้งออนไลน์ก็ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากร้านค้าต่างๆ ปิดตัวในช่วงล็อคดาวน์
จากรายงานเรื่อง The Ultimate B2B E-commerce Guide: Tradition is out. Digital is in ของ DHL Express ที่เพิ่งเผยแพร่เมื่อไม่นานมานี้ แสดงให้เห็นว่าธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ B2C ในปี 2020 ขยายตัวสูงถึง 40% เมื่อเทียบกับปี 2019
อนาคตของธุรกิจ B2C ที่คาดการณ์ไว้ในรายงาน สามารถเห็นได้จากจำนวนลูกค้าในธุรกิจอีคอมเมิร์ซที่เพิ่มสูงขึ้นมากในปีที่ผ่านมา โดยอัตราการเติบโตจะสูงเป็นพิเศษในช่วงวันหยุดเทศกาล (เช่น เทศกาลอีสเตอร์ เทศกาลคริสต์มาส) และงานเซลล์ใหญ่ประจำปี (เช่น เทศกาล Black Friday และ Cyber Monday)
อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่แค่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ B2C เท่านั้น ที่อู้ฟู่จากการเปลี่ยนผ่านสู่ยุคดิจิทัลและการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการช้อปปิ้งของผู้บริโภค ในปี 2019 ก่อนการระบาด เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซและมาร์เก็ตเพลสแบบ B2B ก็มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 18.2% โดยมีมูลค่าแตะ 12.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ แซงหน้าตลาดของธุรกิจ B2C ไปแล้ว
คุณเคน ลี ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของดีเอชแอล เอ๊กซ์เพรส เอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมประเทศจีน) กล่าวว่า “ปี 2020 เป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญสำหรับการทำงานและการใช้ชีวิตของเรา ซึ่งก่อให้เกิดอุปสงค์ด้านลอจิสติกส์เพิ่มขึ้นทั้งในแง่ปริมาณและประสิทธิภาพ เนื่องจากกิจกรรมต่างๆ บนโลกนี้ได้ถูกย้ายไปอยู่บนออนไลน์ และเชื่อมต่อถึงกันมากขึ้นด้วยกระแสการค้าโลกที่ไหลเวียนเพิ่มขึ้น
“DHL Express มองเห็นการขนส่งของธุรกิจอีคอมเมิร์ซพุ่งสูงขึ้นทั่วทั้งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และเราคาดว่าจะเห็นปริมาณการขนส่งเพิ่มขึ้นถึงจุดสูงสุด โดยที่เทรนด์จะยังคงเป็นขาขึ้นต่อไป”
ตามรายงานของ DHL Express ยังคาดการณ์ด้วยว่า ในปี 2025 การติดต่อซื้อขายระหว่างซัพพลายเออร์กับผู้ซื้อรายใหญ่ในธุรกิจ B2B จะเกิดขึ้นบนช่องทางดิจิทัล และการค้าแบบ B2B จะขยายตัวเพิ่มขึ้นกว่า 70% ในปี 2027 ซึ่งคิดเป็นมูลค่าสูงถึง 20.9 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เทียบกับ 12.2 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2019
ชาวมิลเลนเนียลคือแกนนำ
ปัจจัยอื่นๆ ที่ต้องนำมาพิจารณาเมื่อพูดถึงการขยายตัวของธุรกิจอีคอมเมิร์ซแบบ B2B ได้แก่ ผลกระทบของโควิด-19 ที่มีต่อความช้าเร็วในการก้าวเข้าสู่วิถีชีวิตแบบดิจิทัล และพฤติกรรมการซื้อของชาวมิลเลนเนียลที่เชี่ยวชาญการใช้เทคโนโลยี ปัจจุบันคนกลุ่มนี้อยู่ในวัยที่เป็นลูกค้าของธุรกิจ B2C และในอีกแง่หนึ่งก็เป็นผู้ตัดสินใจเรื่องสำคัญๆ ในธุรกิจ B2B ด้วย
รายงานระบุว่า กลุ่มมิลเลนเนียลเป็นผู้ตัดสินใจซื้อสินค้าในธุรกิจ B2B สูงถึง 73%
การเป็นพลเมืองดิจิทัลที่คุ้นเคยกับการซื้อออนไลน์ในชีวิตประจำวัน ทำให้คนกลุ่มมิลเลนเนียลคาดหวังสูงเมื่อต้องทำธุรกรรมแบบ B2B ส่งผลให้บริษัทต่างๆ ต้องลงทุนในโซลูชั่นดิจิทัล เช่น แพลตฟอร์มการขาย เพิ่มมากขึ้น นอกเหนือไปจากที่ต้องนำเสนอโอกาสการเติบโตทางธุรกิจให้กับลูกค้า
การลงทุนเป็นสิ่งจำเป็น
ความเปลี่ยนแปลงนี้ทำให้ผู้ให้บริการขนส่งระหว่างประเทศต้องมองการเติบโตของอุตสาหกรรมในระยะยาวมากขึ้น รวมทั้งต้องเสริมความแข็งแกร่งให้กับโครงสร้างพื้นฐานเพื่อเตรียมรับผลพวงที่จะตามมาในอนาคต
DHL Express เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมขนส่งด่วนหว่างประเทศ และเป็นลอจิสติกส์พาร์ทเนอร์ของลูกค้าธุรกิจทุกขนาดทั้งเล็ก กลาง ใหญ่ เราเห็นว่านี่คือช่วงเวลาที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซมีอัตราการเติบโตสูงสุด และเป็นช่วงเวลาสำคัญสำหรับธุรกิจที่จะเร่งขยายตลาดโดยใช้ประโยชน์จากกระแสที่เกิดขึ้น เพื่อให้สอดรับกับการเทรนด์การเติบโตของอีคอมเมิร์ซ DHL Express ได้ลงทุนพัฒนาและขยายการให้บริการในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก โดยมุ่งหวังที่จะสนับสนุนธุรกิจของลูกค้าให้เติบโตไปพร้อมกัน
เพื่อรองรับความต้องการในภูมิภาค DHL Express ได้ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นจำนวนเงินเกือบ 690 ล้านยูโร ในหลายๆ ประเทศที่เป็นตลาดหลักของบริษัท และได้สั่งซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 777 ใหม่เพิ่มอีก 8 ลำ เพื่อรองรับอุปสงค์ในตลาดขนส่งด่วนระหว่างประเทศที่กำลังขยายตัวอย่างรวดเร็ว โดยมีกำหนดจะส่งมอบเครื่องบินลำแรกในปี 2022 วัตถุประสงค์คือช่วยให้บริษัทสามารถจัดการกับปริมาณการขนส่งที่เพิ่มขึ้นในอนาคต และแก้ปัญหาการส่งด่วนที่ต้องส่งมอบสินค้าให้ตรงตามเวลาที่แน่นอน
คุณเคน ลี เชื่อว่าแผนการและการลงทุนเหล่านี้จะช่วยให้ DHL Express คงอยู่ในตำแหน่งที่สามารถผลักดันการค้าโลกให้ดำเนินต่อไปได้ในระยะยาว ในขณะที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซและการค้าข้ามพรมแดนกำลังขยายตัว
คุณเคน ลี กล่าวต่อว่า “งบประมาณที่เราลงทุนนั้นรวมถึงเม็ดเงิน 377 ล้านยูโร เพื่อขยายฮับดีเอชแอลในเอเชียกลางที่ฮ่องกง 80 ล้านยูโร เพื่อสร้างศูนย์กระจายสินค้าที่ใหญ่ที่สุดที่โอซาก้า ประเทศญี่ปุ่น และอีก 131 ล้านยูโร เพื่อปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ สำหรับเกตเวย์ที่อินชอน ประเทศเกาหลีใต้
นอกจากนี้ยังมีการลงทุนในออสเตรเลีย ได้แก่ การเพิ่มศูนย์บริการแห่งใหม่ในนครซิดนีย์ รวมทั้งแผนขยายและสร้างศูนย์บริการใหม่ที่เมืองบริสเบน เมลเบิร์น และแอดิเลดด้วย”
แต่ยังไม่หมดแค่นั้น
“เรายังมีเครื่องบินอีก 23 ลำ ที่ใช้ขนส่งสินค้าในภูมิภาค และยังได้ลงทุนเงินอีกกว่า 60 ล้านยูโรเพื่อขยายเครือข่ายให้ครอบคลุมมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ เรายังวางแผนที่จะเปิดตัวส้นทางขนส่งใหม่และเพิ่มความถี่ของเที่ยวบินให้มากขึ้นด้วย”
DHL Express จะปรับปรุงฝูงบินระหว่างประเทศและฝูงบินในภูมิภาคให้ทันสมัย เพื่อรักษาประสิทธิภาพและเครือข่ายการขนส่งทางอากาศที่ลูกค้าให้ความไว้วางใจต่อไป” คุณเคน ลี กล่าวสรุป