สินค้าที่จัดส่งข้ามพรมแดนของไทยจะต้องผ่านการตรวจสอบและชั่งน้ำหนักที่ด่านศุลกากร รวมถึงการจัดทำเอกสารและชำระค่าธรรมเนียมและภาษี รายละเอียดของกระบวนการเหล่านี้มีความแตกต่างและหลากหลายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อจัดส่งสินค้าไปยังประเทศต่างๆ ซึ่งอาจก่อให้เกิดต้นทุนและค่าใช้จ่ายที่สูงมากสำหรับธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยที่ยังไม่ชินกับกระบวนการทางศุลกากรที่ซับซ้อนแล้วจะเกิดอะไรขึ้นกับธุรกิจเอสเอ็มอีที่อาจยังไม่เข้าใจกระบวนการเหล่านี้? การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบจะนำไปสู่ปัญหาความล่าช้าในการจัดส่งสินค้าและค่าปรับที่สูงมาก ทั้งยังเพิ่มค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน และท้ายที่สุดแล้วก็จะส่งผลกระทบต่อลูกค้า ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยที่ดำเนินการนำเข้าและส่งออกสินค้าควรเข้าใจทั้งกระบวนการทางศุลกากรในประเทศของตน และประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของสินค้าด้วย
● กระบวนการและกฎระเบียบศุลกากรแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ และเอสเอ็มอีจำเป็นต้องเรียนรู้เพื่อป้องกันปัญหาความล่าช้าและค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นเมื่อไม่ปฏิบัติตามกฏระเบียบ
● เอสเอ็มอีจำเป็นต้องรู้เกี่ยวกับกระบวนการทางศุลกากรสำหรับสินค้าแต่ละประเภท เพื่อหลีกเลี่ยงอุปสรรคในการจัดส่งสินค้า
● ความร่วมมือกับผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระดับโลกเพิ่มความเชื่อมั่นให้แก่เอสเอ็มอีในการดำเนินการตามขั้นตอนทางศุลกากร และช่วยให้เอสเอ็มอีให้ความสำคัญมากกว่ากับกลยุทธ์ธุรกิจเพื่อขยายกิจการให้เติบโต
เพื่อก้าวให้ทันกับกฎระเบียบทางศุลกากร ธุรกิจเอสเอ็มอีสามารถปรับใช้แนวทางปฏิบัติดังต่อไปนี้
1) จำแนกประเภทของสินค้าที่จัดส่งอย่างถูกต้อง
ปัญหาสำคัญที่สุดที่ธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยต้องเผชิญในการจัดส่งสินค้าระหว่างประเทศคือ ความรู้ที่ไม่เพียงพอเกี่ยวกับการจำแนกประเภทของสินค้าตามกฎระเบียบศุลกากร ในการแก้ไขปัญหานี้ เอสเอ็มอีจำเป็นที่ต้องมีความเข้าใจที่ชัดเจนเกี่ยวกับพิกัดศุลกากรระบบฮาร์โมไนซ์ (Harmonized Commodity Description and Coding Systems หรือ HS Code) ทั้งนี้ HS Code เป็นระบบจำแนกประเภทที่ใช้กันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยกำหนดมาตรฐานสำหรับการจำแนกประเภทของสินค้าบางอย่าง รวมถึงอัตราภาษีอากรที่จะต้องชำระแม้ว่ารหัสสินค้า HS Code ครอบคลุมรหัส 6 ตัวแรก แต่บางประเทศอาจใส่รหัสเพิ่มเติมเพื่อระบุอัตราภาษีท้องถิ่นสำหรับสินค้าบางประเภท หากเอสเอ็มอีไม่ได้ปฏิบัติตามกฎระเบียบดังกล่าว เช่น จ่ายภาษีในอัตราต่ำกว่าที่ควรจะเป็น ก็อาจถูกลงโทษหากมีการตรวจพบ ความรู้เกี่ยวกับระบบ HS Code ตอกย้ำถึงความสำคัญของการดำเนินการทางศุลกากรที่ถูกต้อง และเอสเอ็มอีควรใช้เครื่องมือทผ่านช่องทางออนไลน์ที่มีอยู่ในปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องตามข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง
2) ระบุมูลค่าทางศุลกากรที่ถูกต้องสำหรับสินค้าที่จะส่งออก
หลังจากที่ระบุรหัส HS Code ที่ถูกต้องสำหรับสินค้าแล้ว เอสเอ็มอีต้องดำเนินการประเมินมูลค่าทางศุลกากร เพื่อระบุอัตราภาษีสำหรับสินค้านั้นๆ ชนิดของภาษีไม่ว่าจะเป็นแบบเฉพาะเจาะจงหรือตามมูลค่า[1] ขึ้นอยู่กับประเภทของสินค้าและประเทศปลายทางมูลค่าทางศุลกากรของสินค้าที่จัดส่งไม่ใช่ราคาที่ระบุไว้ในใบเรียกเก็บเงิน เพราะจะต้องคิดค่าธรรมเนียมใบอนุญาตและปัจจัยอื่นๆ ด้วยเช่นกัน มีหลายวิธีในการประเมินมูลค่าทางศุลกากรอย่างเหมาะสม และเอสเอ็มอีควรจะตรวจสอบกับผู้เชี่ยวชาญทางศุลกากรและโลจิสติกส์ เพราะการประเมินมูลค่าสินค้าอย่างไม่ถูกต้องจะทำให้ต้องเสียค่าปรับที่สูงมาก ทำให้สินค้าถูกระงับและไม่สามารถส่งมอบให้แก่ลูกค้าได้
3) ระบุประเทศต้นทางที่ถูกต้องของสินค้า
การจัดส่งสินค้าผ่านหลายประเทศก่อนจะถึงปลายทางทำให้ธุรกิจเอสเอ็มอีจำเป็นที่จะต้องระบุประเทศต้นทางของการจัดส่งสินค้าไว้ในเอกสารศุลกากรอย่างชัดเจน ข้อมูลนี้จำเป็นสำหรับเอสเอ็มอีในการใช้ประโยชน์จากข้อตกลงทางการค้าและสิทธิพิเศษสำหรับสินค้าบางประเภท ซึ่งอาจช่วยลดหรือยกเว้นอัตราภาษีศุลกากร[2]ในทำนองเดียวกัน เจ้าหน้าที่ศุลกากรอาจสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับประเทศต้นทางของการจัดส่งสินค้า เพื่อตรวจสอบโควต้า[3] การติดฉลาก หรือมาตรการป้องกันการทุ่มตลาดภายในประเทศ เอสเอ็มอีที่ไม่แน่ใจเกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบประเทศที่เป็นแหล่งกำเนิดสำหรับสินค้าที่จะจัดส่ง หรือไม่แน่ใจเกี่ยวกับเอกสาร ควรจะขอคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญทันที
4) เข้าใจข้อกำหนดของประเทศปลายทาง
ปัจจัยอื่นๆในประเทศปลายทางอาจส่งผลให้เกิดความล่าช้าในการดำเนินการและการเดินพิธีการศุลกากร ตัวอย่างเช่น ข้อกำหนดการออกใบอนุญาตจะแตกต่างกันไปในแต่ละประเทศ เอสเอ็มอีสามารถเรียนรู้ข้อมูลเกี่ยวกับประเทศปลายทางแต่ละประเทศโดยอาศัยความช่วยเหลือของผู้เชี่ยวชาญศุลกากรและโลจิสติกส์ระดับโลกนอกจากนี้ การระบุข้อมูลที่เฉพาะเจาะจงเกี่ยวกับสินค้าที่จัดส่งแทนที่จะใช้คำอธิบายทั่วไป จะช่วยลดความกำกวมระหว่างการตรวจสอบและประเมินมูลค่าทางศุลกากร ตัวอย่างเช่น แทนที่จะระบุฉลากสินค้าว่าเป็น “ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์คอมพิวเตอร์” เอสเอ็มอีควรจะระบุว่าเป็น “สินค้าที่ประกอบด้วยชิปคอมพิวเตอร์หรือฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์” ซึ่งจะช่วยเพิ่มความสะดวกให้แก่เจ้าหน้าที่ศุลกากรในการตรวจสอบเอกสาร เช่น รหัสสินค้า HS Code ฯลฯ สินค้าบางอย่างเช่น อาหาร และพืช ถูกระบุว่าเป็นสินค้าที่มีความเสี่ยงสูงและจะต้องมีการเปิดให้ตรวจสอบ (Red Line)[4] การระบุฉลากอย่างเหมาะสมจะช่วยสร้างความโปร่งใส และเร่งกระบวนการตรวจสอบและการส่งออกสินค้าโลกของการค้าระหว่างประเทศอาจเปรียบเสมือนระเบิดเวลาสำหรับเอสเอ็มอีที่ไม่ได้ปฏิบัติตามกฏระเบียบข้อบังคับอย่างถูกต้อง ความร่วมมือกับบริษัทโลจิสติกส์ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับขั้นตอนศุลกากรที่ซับซ้อนระหว่างประเทศจะช่วยธุรกิจเอสเอ็มอีไทยในการตรวจสอบและจัดหาข้อมูลที่ถูกต้องในทุกขั้นตอนของการดำเนินการและที่สำคัญคือ เมื่อธุรกิจเอสเอ็มอีของไทยมั่นใจว่าการจัดส่งสินค้าจะผ่านพิธีการศุลกากรอย่างราบรื่น ก็จะสามารถให้ความสำคัญกับการขยายธุรกิจสู่ช่องทางใหม่ๆ ได้อย่างเต็มศักยภาพ
___________________________________________________________
[1] International Trade Theory and Policy, Steven M Suranovic
[2] กฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้า, ศูนย์บริการศุลกากร กรมศุลกากร
[3] Rules of Origin: Preferential and Non-Preferential, Integration Point
[4] Thailand: The Guide to Thailand’s Import and Export Procedures, AEC Strategy Center, มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย